วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การเลือกตั้งของประเทศมาเลเซีย


5พ.ค.ชี้ชะตาเลือกตั้งมาเลย์โต๊ะเจรจายังอยู่

5พ.ค.ชี้ชะตาเลือกตั้งมาเลเซีย รัฐบาลเปลี่ยน...โต๊ะเจรจายังอยู่!


              การเจรจาระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยกับกลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็นตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่า มีความเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออกกับการเลือกตั้งภายในประเทศมาเลเซียในวันที่ 5 พฤษภาคม นี้ โดยเฉพาะข้อที่ว่า ผลจากการเป็นตัวกลางในการเจรจาสันติภาพที่ภาคใต้ของไทยถือเป็นผลงานของ นายนาจิบ ราซัค อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียโดยตรง

              ดังนั้น การเลือกตั้งภายในของมาเลเซียครั้งนี้จึงได้รับการจับตามองจากคนไทยมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า หากพรรครัฐบาลของนายนาจิบแพ้การเลือกตั้ง และพรรคฝ่ายค้านพลิกกลับมาเป็นรัฐบาลแทน "โต๊ะเจรจาสันติภาพ" ที่รัฐบาลชุดเก่าเป็นเจ้าภาพอำนวยความสะดวกเอาไว้ จะล้มครืนตามไปด้วยหรือไม่ !?

              ทั้งนี้ ในการประชุมหน่วยงานความมั่นคงที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานการประชุม โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก รวมถึง พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ร่วมประชุมด้วย เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ที่ผ่านมา จึงได้มีการหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาหารือด้วย

              หนึ่งในคณะทำงานพูดคุยกับกลุ่มบีอาร์เอ็นที่ร่วมคณะกับเลขาธิการ สมช. วิเคราะห์ว่า ไม่ว่าผลการเลือกตั้งในมาเลเซียจะมีการเปลี่ยนขั้วหรือไม่ การพูดคุยเพื่อสันติภาพก็จะต้องเกิดขึ้นต่อไป เพราะรัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซียจะต้องร่วมมือกันในโครงการต่างๆ โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูง และโครงการท่าเรือทวาย ซึ่งมีส่วนสำคัญ และเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจของประเทศมาเลเซีย

              หนึ่งในคณะทำงานพูดคุยของสมช. เชื่อว่า มาเลเซียต้องพยายามดำเนินการให้การพูดคุยกันในครั้งนี้จบลงด้วยดี ไม่เช่นนั้นมาเลเซียก็จะสูญเสียความน่าเชื่อถือไปด้วยเช่นกัน ดังนั้น ไม่ว่าฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้านจะชนะการเลือกตั้งก็จะต้องเดินหน้าให้การพูดคุยได้ข้อยุติลงด้วยสันติวิธี

              เขายังเผยถึงเงื่อนไขในการเจรจาล่าสุดกับแกนนำบีอาร์เอ็นด้วยว่า "ในการพูดคุยได้มีการโยนคำถามว่าให้พวกคุณ (บีอาร์เอ็น) หยุดก่อเหตุได้หรือไม่ประมาณ 1 เดือน ซึ่งหากหยุดไม่ได้ก็แสดงว่าไม่ใช่ตัวจริง และถ้าสั่งไม่ได้ ต่อไปเราก็อาจจะมีการพูดคุยกับกลุ่มอื่น”

              ส่วนเงื่อนไข 5 ข้อของกลุ่มบีอาร์เอ็นที่ย้ำชัดเจนถึงการแบ่งแยกดินแดน และพยายามยกระดับการเจรจาสู่สากลนั้น เขามองว่า ข้อเสนอดังกล่าวเป็นเพียงการแสดง "จุดยืน" ของเขาเท่านั้น และการพูดคุยกันในครั้งนี้ก็ไม่ได้เป็นการเจรจา แต่เป็นการรับฟัง และเปิดช่องทางการพูดคุยเท่านั้น

              “เงื่อนไข 5 ข้อที่บีอาร์เอ็นยื่นมานั้น โดยเฉพาะการให้มาเลเซียเป็นตัวกลางในการเจรจา มาเลเซียได้ประกาศชัดแล้วว่าเขาจะทำหน้าที่เพียงอำนวยความสะดวกในการพูดคุยกันเท่านั้น ดังนั้น 5 ข้อที่เสนอมานั้น ถูกมาเลเซียปฏิเสธไปแล้วหนึ่งข้อ ส่วนที่เหลืออีก 4 ข้อนั้น ทุกอย่างจะต้องเป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญไทยทั้งหมด” ทีมเจรจา สมช.กล่าวย้ำ

              รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร นักวิชาการด้านความมั่นคงจากภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองสอดคล้องกันว่า ไม่ว่าพรรครัฐบาล หรือพรรคฝ่ายค้านจะเข้ามาครองอำนาจ โต๊ะเจรจาก็จะยังคงดำเนินต่อไป เพราะมาเลเซียต้องการมีบทบาทในการสร้างสันติภาพ เพื่อสร้างภาพความเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียนอยู่แล้ว

              อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.ปณิธาน มองว่า แม้การดำเนินนโยบายหลักๆ จะไม่ต่างกัน แต่ตัวบุคคลที่จะเข้ามาพูดคุย และประเด็นในการเจรจาคงจะเปลี่ยนไปพอสมควร โดยจะมีความเข้มข้นมากขึ้นเพราะพรรคฝ่ายค้านของมาเลเซีย โดยเฉพาะพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย หรือพรรคปาส มีความใกล้ชิดกับกลุ่มที่เคลื่อนไหวใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยมากกว่าฝ่ายรัฐบาลมาเลเซีย

              "อย่าง นายฮัสซัน ตอยิบ แกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็น จะมีความใกล้ชิดกับตำรวจสันติบาลของมาเลเซีย และรัฐบาลในกรุงกัวลาลัมเปอร์มากกว่า แต่ถ้าพรรคฝ่ายค้านได้เป็นรัฐบาลเราคงได้เห็นคนหน้าใหม่ๆ เข้ามาเจรจามากขึ้น ซึ่งน่าจะถูกใจกลุ่มศาสนา และเด็กในพื้นที่มากกว่า แต่จะทำให้รัฐบาลไทยเจรจาได้ยากขึ้น" รศ.ดร.ปณิธาน กล่าวทิ้งท้าย

              ทั้งนี้ สำหรับแนวโน้มการเลือกตั้งในครั้งนี้นับว่าสูสีคู่คี่มากที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งมาเลเซีย โดยเฉพาะการขับเคี่ยวกันระหว่าง นายนาจิบ ราซัค ผู้สมัครจากพรรคสหมาเลย์แห่งชาติ หรือพรรคอัมโน กับ นายอันวาร์ อิบราฮิม ผู้สมัครพรรคฝ่ายค้าน และอดีตรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งถือเป็นคู่กัดตลอดกาลของพรรครัฐบาล และเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุด

              โดยนายนาจิบ ราซัค หาเสียงด้วยนโยบายการแก้กฎหมายเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ขณะที่ นายอันอาร์ อิบราฮิม ผู้สมัครจากพรรคฝ่ายค้าน ชูนโยบายการปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ หลังจากพรรคอัมโนผูกขาดการปกครองของมาเลเซียมายาวนานกว่า 56 ปี

              น่าสนใจว่า ทั้งคู่มีจุดแข็งที่แตกต่างกัน โดยนายอันวาร์เป็นขวัญใจ "คนรุ่นใหม่" ในช่วงระหว่างอายุ 20-30 ปี โดยผลการสำรวจคะแนนนิยมพบว่า นายอันวาร์มีคะแนนนิยมในกลุ่มคนรุ่นใหม่ 52 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่นายนาจิบได้คะแนนนิยมเพียง 30 เปอร์เซ็นต์ โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่มองว่า นายราจิบปิดหูปิดตาประชาชนด้วยการควบคุมสื่อ และบริหารประเทศล่าช้า ไม่ทันต่อสถานการณ์

              แต่ผลการสำรวจคะแนนนิยมในกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปพบว่า นายราจิบมีคะแนนนิยม 61 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ถือว่าได้น้อยกว่าทุกการเลือกตั้งที่ผ่านมา และทำให้พรรคอัมโนมีแนวโน้มที่จะได้ ส.ส.เข้าไปนั่งในสภาน้อยลง และจะทำให้การผลักดันกฎหมาย หรือนโยบายสำคัญทำได้ยากขึ้น ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานในอนาคต หากได้กลับไปเป็นรัฐบาลอีกครั้ง

              ส่วนกลุ่มคนไทยในมาเลเซีย โดยเฉพาะผู้ที่ถือบัตรประชาชน "สองสัญชาติ" ก็ถือว่าเป็นตัวแปรหนึ่งในการเลือกตั้งมาเลเซียเช่นกัน โดยกลุ่มคนไทยในมาเลเซีย โดยเฉพาะในรัฐตอนเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ถือเป็นฐานคะแนนเสียงสำคัญของพรรคฝ่ายค้านมาเลเซียมาช้านาน และเป็นพื้นที่ที่พรรครัฐบาลพยายามช่วงชิงแต้มกลับคืนมาให้ได้มากที่สุด

              มีรายงานข่าวแจ้งว่า รัฐบาลมาเลเซียพยายามลดช่องว่างของคะแนนเสียงส่วนนี้ด้วยการบีบกลุ่มที่มี "หมายจับ" ของทางการไทยให้สนับสนุนพรรครัฐบาล เพื่อแลกกับการได้อยู่ในมาเลเซียต่อ ไม่ต้องถูกส่งกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย ซึ่งถือเป็น "ไม้เด็ด" ที่น่าจะช่วงชิงคะแนนเสียงกลับไปได้พอสมควร

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 6 พ.ค. ว่า ผลการนับคะแนนการเลือกตั้งทั่วไปของมาเลเซีย ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ (5 พ.ค.) ปรากฏว่า หลังปิดหีบลงคะแนนผ่านไปประมาณ 9 ชั่วโมง และนับบัตรได้กว่า 2 ใน 3 ของทั้งหมด พรรคร่วมรัฐบาลในนาม “แนวร่วมแห่งชาติ” นำโดยพรรคอัมโนของ นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค คว้าชัยชนะได้สำเร็จ เมื่อได้ ส.ส. เข้าสู่รัฐสภาแล้วอย่างน้อย 127 ที่นั่ง ครองเสียงข้างมากจากทั้งหมดในรัฐสภา 222 ที่นั่ง สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้โดยเอกเทศ ขณะที่แนวร่วมฝ่ายค้าน 3 พรรค นำโดยนายอันวาร์ อิบราฮิม ได้ ส.ส. แล้ว 77 ที่นั่ง
นับเป็นชัยชนะการเลือกตั้งทั่วไป 13 ครั้งติดต่อกัน ของพรรคแนวร่วมแห่งชาติ ซึ่งผูกขาดครองอำนาจเป็นรัฐบาลมาตลอด ตั้งแต่มาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2500 และเป็นชัยชนะที่ค่อนข้างผิดความคาดหมายก่อนหน้านี้ ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์ชี้ว่า พรรคร่วมรัฐบาลจะเผชิญความท้าทายครั้งใหญ่สุดจากฝ่ายค้าน
เจ้าหน้าที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติมาเลเซีย เผยว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนราว 13 ล้านคน ตัวเลขผู้ที่ออกไปใช้สิทธิสูงถึง 80 % หรือกว่า 10 ล้านคน โดยการลงคะแนนมีขึ้นในหน่วยเลือกตั้งกว่า 8,000 หน่วยทั่วประเทศ ระหว่างเวลา 08.00 น. – 17.00 น

ประเทศมาเลเซียจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2556 หลังนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2556[2] โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภานิติบัญญัติรัฐ 12 จาก 13 รัฐ (ยกเว้นรัฐซาราวัก) หลังธรรมเนียมปฏิบัติที่เริ่มตั้งแต่ปี 2547 ให้จัดการเลือกตั้งเหล่านี้พร้อมกัน[3][4]
พรรครัฐบาล แนวร่วมแห่งชาติ (BN) ที่ครอบงำโดยพรรคอัมโนของนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซะก์ ได้รับเสียงข้างมาก แม้พรรคปากาตัน รักเกียตที่ตั้งโดยพรรคการเมืองฝ่ายค้านสามพรรค จะได้รับเสียงจากประชาชนมากที่สุด ทั้งนี้ เพราะที่นั่งมิได้จัดสรรตามสัดส่วน แต่ในระดับเขตเลือกตั้ง ตามระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (first-past-the-post system) อย่างไรก็ดี พรรคฝ่ายค้านมีที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่พรรครัฐบาลเสียที่นั่งเล็กน้อย
การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศมาเลเซีย พ.ศ. 2556
ธงชาติของมาเลเซีย
2551 ←5 พฤษภาคม 2556[1]

ทั้ง 222 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร
และทั้ง 505 ที่นั่งในสภานิติบัญญัติรัฐใน 12 รัฐของมาเลเซีย (ยกเว้นรัฐซาราวัก)

ฝ่ายข้างมากต้องได้เกิน 112 ที่นั่ง
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง84.84%
 พรรคที่หนึ่งพรรคที่สอง
 Dato Sri Mohd Najib Tun Razak.JPGAnwar 980416.jpg
ผู้นำนาจิบ ราซะก์อันวาร์ อิบราฮิม
พรรคพรรคแนวร่วมแห่งชาติพรรคปากาตัน รักเกียต
ผู้นำตั้งแต่3 เมษายน 255228 สิงหาคม 2551
ที่นั่งผู้นำปกันเปอร์มาตังปาอูห์
ผลครั้งที่แล้ว140 ที่นั่ง, 50.27%82 ที่นั่ง, 46.75%
ที่นั่งที่ได้13389
เปลี่ยนแปลง 7 7
คะแนนเสียง5,237,6995,623,984
ร้อยละ47.38%50.87%
Swing 2.89%4.12%

นายกรัฐมนตรี
ก่อนการเลือกตั้ง

นายกรัฐมนตรีที่ได้รับแต่งตั้ง