วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เรื่อง ประวัติรัฐธรรมนูญ



รัฐธรรมนูญฉบับแรก          :          พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕
รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๒          :           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕
รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๓          :           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙
รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๔          :           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว)  พุทธศักราช ๒๔๙๐
รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๕          :           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๙๒
รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๖          :           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๙๕
รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๗          :           ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๐๒
รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๘          :           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๑
รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๙          :           ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๑๕
รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๑๐        :           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๗
รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๑๑        :           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๙
รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๑๒        :           ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๒๐
รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๑๓        :           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๒๑
รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๑๔        :           ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๓๔
รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๑๕        :           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔
รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๑๖        :           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๑๗        :           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙
รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๑๘        :           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐

 รัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ใช้ในการปกครองประเทศภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้แก่ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ ซึ่งประกาศใช้เมื่อ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕
รัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ซึ่งประกาศใช้เมื่อ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่สองของประเทศไทย
รัฐธรรมนูญ ๔ ฉบับ ที่มีอายุการใช้บังคับยาวนานที่สุด ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ซึ่งใช้บังคับเป็นเวลายาวนานที่สุดถึง ๑๓ ปี ๕ เดือน(ตั้งแต่วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ ถึงวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๔๘๙) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๒๑ ซึ่งมีผลใช้บังคับเป็นเวลา ๑๒ ปี ๒เดือน (๒๒ ธันวาคม ๒๕๒๑ - ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔) ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๐๒ ซึ่งมีอายุการใช้บังคับนาน ๙ ปี ๔ เดือน ๒๓ วัน (๒๘ มกราคม ๒๕๐๒ - ๒๐ มิถุนายน ๒๕๑๑) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ซึ่งมีอายุการใช้บังคับนาน ๘ ปี ๙ เดือน ๑๑ วัน (๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๐ – ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙)
รัฐธรรมนูญ ๓ ฉบับ ที่มีอายุการใช้บังคับสั้นที่สุด ได้แก่ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ ซึ่งใช้บังคับเป็นเวลาเพียงแค่ ๕ เดือน ๑๓ วัน (ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ จนถึงวันที่ ๑๐ ธันวาคม ปีเดียวกัน) ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๓๔ ซึ่งใช้บังคับเป็นเวลา ๙ เดือน ๙ วัน (๑ มีนาคม ๒๕๓๔ – ๙ ธันวาคม ๒๕๓๔) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย      พุทธศักราช ๒๕๑๙ ซึ่งมีอายุการใช้บังคับเพียงปีเดียวก็ถูกยกเลิก (๒๒ ตุลาคม ๒๕๑๙ - ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๐)
รัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้เวลาร่างยาวนานที่สุด ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๑ ซึ่ง “สภาร่างรัฐธรรมนูญ” ในสมัย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ใช้เวลาร่างนานถึง ๙ ปี ๔ เดือน แต่เมื่อได้นำไปประกาศใช้ กลับมีอายุการใช้บังคับได้เพียง ๓ ปี ๔ เดือน ๒๘ วัน เท่านั้น ก็มีอันต้องเลิกใช้ เนื่องจากการปฏิวัติตัวเองของจอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔
มีรัฐธรรมนูญ ๔ ฉบับ ที่บัญญัติให้ “อำนาจพิเศษ” แก่นายกรัฐมนตรีเพื่อระงับและปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายหรือก่อกวนความมั่นคงและความสงบสุข ของประเทศอย่างเฉียบขาด โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๐๒ โดยบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๗ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๑๕ (มาตรา ๑๗) ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๑๙(มาตรา ๒๑) และธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๒๐ (มาตรา ๒๗)
  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่บัญญัติเกี่ยวกับสาระสำคัญที่เด่นๆ ดังต่อไปนี้
-    การคุ้มครองสิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภค
-    การให้สิทธิแก่คนพิการที่หูหนวกและเป็นใบ้ที่จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้
-    สิทธิที่จะได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ก่อนที่จะอนุญาตหรือดำเนินโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของตนหรือชุมชนท้องถิ่น
-    สิทธิที่จะต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการรัฐประหารหรือการล้มล้างรัฐบาลโดยวิถีทางนอกรัฐธรรมนูญ
-    กำหนดให้รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น รวมทั้งสนับสนุนให้นำหลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
-    กำหนดให้มีแผนพัฒนาการเมืองและจัดทำมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการ
-    กำหนดให้มีกฎหมายแม่บทเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ และปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
-    กำหนดให้มีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม
-    กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรมีสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งสองประเภท ได้แก่ สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อพรรค (ปาร์ตี้ลิสต์) จำนวน ๑๐๐ คน และสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต เขตละคน จำนวน ๔๐๐ คน
-    กำหนดให้วุฒิสภามีสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามเขตจังหวัด มีจำนวน ๒๐๐ คน ทำหน้าที่ตรวจสอบเป็นด้านหลักและกลั่นกรองกฎหมายเป็นด้านรอง
-    กำหนดให้เอาหีบบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไปเทนับรวมกัน ณ สถานที่แห่งหนึ่งแห่งใดเพียงแห่งเดียว เช่น บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอ
-    กำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต้องสำเร็จการศึกษาไม่น้อยกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
-    กำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องสังกัดพรรคการเมืองที่ส่งสมัครเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๙๐ วัน ก่อนวันสมัครรับเลือกตั้ง
-    กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๙๐ วัน
-    กำหนดห้ามมิให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาใช้สถานะหรือตำแหน่งเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงการบรรจุแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการประจำหรือพนักงานของรัฐ
-    กำหนดให้รัฐสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเรื่องการจัดที่ปิดประกาศและที่ติดแผ่นป้ายโฆษณาเลือกตั้ง การพิมพ์และจัดส่งเอกสารเลือกตั้งไปให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และการจัดสรรเวลาออกอากาศทางวิทยุและโทรทัศน์ เป็นต้น
-    กำหนดให้มีคณะกรรมการการเลือกตั้งทำหน้าที่ควบคุมและดำเนินการเลือกตั้งทุกระดับ โดยให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งและกฎหมายพรรคการเมืองทั้งหมด ในระหว่างที่มีพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ถึงแม้รัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะเป็นรัฐบาลรักษาการ แต่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเลือกตั้งไม่ได้เลย เพราะอำนาจทั้งหมดรวมทั้งการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง จะตกอยู่กับประธานกรรมการการเลือกตั้งทั้งสิ้น
-    กำหนดให้มีการบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา และเปิดเผยให้ประชาชนเข้าไปตรวจสอบได้
-    กำหนดให้ในปีหนึ่งมีสมัยประชุมสามัญสองสมัย ๆ ละ ๑๒๐ วัน และในหนึ่งสมัยต้องเป็นสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ ซึ่งจะพิจารณาได้เฉพาะกฎหมายเท่านั้น
-    กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภารวมกัน หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรล้วนๆ มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้นำความกราบบังคมทูล เพื่อมีพระบรมราชโองการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญ โดยมีประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการได้
-    กำหนดให้สิทธิแก่ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนที่จะเข้าชื่อกันเสนอกฎหมายตามหมวด ๓ (สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย) และหมวด ๕ (แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ) เพื่อให้รัฐสภาพิจารณาได้
-    กำหนดให้เป็นอำนาจร่วมกันระหว่างประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานคณะกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎรทุกคณะ เป็นผู้วินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติใดเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน ที่จะต้องส่งไปให้นายกรัฐมนตรีรับรอง หรือไม่
-    กำหนดให้รัฐสภาสามารถมีมติให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีระบุไว้ในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาว่าจำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินแต่สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ต่อไปได้ ซึ่งเท่ากับเป็นการดึงเอาวุฒิสภามาช่วยงานด้านนิติบัญญัติของรัฐบาลนั่นเอง
-    กำหนดให้คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการการเลือกตั้งทั่วไป กรณีที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร สามารถขอให้รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม หรือร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ที่รัฐสภายังมิได้ให้ความเห็นชอบ ต่อไปได้ อันเป็นการประหยัดเวลาที่ไม่ต้องไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่
-    กำหนดให้มีการตั้งกระทู้ถามสดในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ครั้งละหนึ่งชั่วโมง โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียงแต่แสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรก่อนเริ่มประชุมในวันนั้นว่าจะถามนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีคนใด โดยไม่ต้องระบุคำถาม
-    กำหนดให้การยื่นญัตติเพื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ต้องมีรายชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวนไม่น้อยกว่าสองในห้า พร้อมทั้งต้องยื่นรายชื่อผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปด้วย และเมื่อได้มีการยื่นญัตติแล้วจะยุบสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ แต่ถ้าหากการเสนอญัตติดังกล่าว เป็นเรื่องเกี่ยวกับพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติหรือส่อว่าทุจริต จะต้องยื่นให้ ป.ป.ช. ทำการไต่สวนหรือส่งดำเนินคดีหรือส่งให้วุฒิสภาทำการถอดถอนถ้า ป.ป.ช. เห็นว่าข้อกล่าวหามีมูลความผิดพร้อมกันไปด้วย
-    กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัติที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับเด็ก สตรี และคนชรา หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ หากมิได้พิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภา จะต้องพิจารณาโดยกรรมาธิการวิสามัญซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์กรเอกชนเกี่ยวกับบุคคลประเภทนั้น มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม
-    กำหนดให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จำนวน ๑๑ คน มีหน้าที่ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรืออันไม่เป็นไปตามพันธะกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งส่งเสริมการศึกษาและการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
-    กำหนดให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยการลงคะแนนโดยเปิดเผยในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งต้องได้คะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด
-    กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ต้องพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันถัดจากวันที่ครบสามสิบวัน นับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
-    กำหนดให้มีการออกเสียงประชามติในเรื่องที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน แต่การออกเสียงประชามติดังกล่าวต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการขอปรึกษาความเห็นของประชาชนว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในกิจการที่รัฐบาลกำลังจะดำเนินการหรือไม่ และการออกเสียงประชามติดังกล่าวมีผลเป็นเพียงการให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้น โดยไม่ผูกพันว่า คณะรัฐมนตรีจะต้องปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ
-    กำหนดให้มีการให้บำเหน็จบำนาญหรือประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นขององคมนตรี ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาซึ่งพ้นจากตำแหน่ง โดยกำหนดให้ออกเป็นพระราชกฤษฎีกา
-    กำหนดให้การรวมหรือการโอนกระทรวง ทบวง กรม ที่มีผลเป็นการจัดตั้งเป็นกระทรวง ทบวง กรม ขึ้นใหม่ หรือการรวมหรือการโอนกระทรวง ทบวง กรม ที่มิได้มีการจัดตั้งเป็นกระทรวง ทบวง กรม ขึ้นใหม่ โดยไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้น หรือการยุบกระทรวง ทบวง กรม สามารถตราเป็นพระราชกฤษฎีกาได้
-    กำหนดให้การนั่งพิจารณาคดีของศาล ต้องมีผู้พิพากษาหรือตุลาการครบองค์คณะ และผู้พิพากษาหรือตุลาการซึ่งมิได้นั่งพิจารณาคดีใด จะทำคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยคดีนั้นมิได้
-    กำหนดให้การจับและคุมขังบุคคลในคดีอาญาต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาล ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดแห่งการจับ ต้องแจ้งให้ญาติทราบ และต้องนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายใน ๔๘ ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ถูกจับถูกนำตัวไปถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน
-    กำหนดให้การค้นในที่รโหฐานต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาล
-    กำหนดให้มีการคุ้มครองผู้เสียหายและพยานในคดีอาญา รวมทั้งการปฏิบัติที่เหมาะสมและจ่ายค่าตอบแทนที่จำเป็น
-    กำหนดให้รัฐจ่ายค่าตอบแทนแก่จำเลยซึ่งถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดีและศาลได้พิพากษาว่ามิได้เป็นผู้กระทำความผิด
-    กำหนดให้รัฐจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคคลที่ได้รับโทษทางอาญาโดยคำพิพากษาของศาล ซึ่งต่อมามีการรื้อฟื้นคดี และศาลพิพากษาใหม่ว่ามิได้เป็นผู้กระทำความผิด
-    กำหนดให้มีศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่วินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด หรือการกระทำใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่
-    กำหนดให้มีแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นส่วนหนึ่งของศาลฎีกา ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นผู้ไต่สวนและทำสำนวนคดี ซึ่งสรุปว่า ข้อกล่าวหามีมูล
-    กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม และศาลปกครองมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น
-    กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน หรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น
-    กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จำนวน ๙ คน มีหน้าที่ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งทำความเห็นเสนอต่อวุฒิสภา เพื่อให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ร่ำรวยผิดปกติและส่อว่าทุจริตต่อหน้าที่ รวมทั้งสรุปสำนวนพร้อมทั้งทำความเห็นเสนอต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตลอดจนการตรวจสอบความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สิน ตามที่ได้มีการยื่นแสดงบัญชีของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงอื่นๆ ด้วย
-    กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงอื่นๆ มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. และคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้องทำการตรวจสอบความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าว ถ้าพบว่าแจ้งเท็จหรือจงใจไม่ยื่นต้องพ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่ และห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ เป็นเวลา ๕ ปี สำหรับบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องเปิดเผยต่อสาธารณชนด้วย
-    กำหนดให้วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนบุคคลที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอว่า ร่ำรวยผิดปกติหรือส่อทุจริตได้ โดยใช้คะแนนเสียงในการลงมติถอดถอนจำนวนไม่น้อยกว่าสามในห้าของสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด
-    กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ หรือประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง เช่น ประธานศาลฎีกา และอัยการสูงสุด เป็นต้น โดยที่คำร้องขอดังกล่าวต้องระบุพฤติกรรมที่กล่าวหาเป็นข้อๆ ให้ชัดเจน
-    กำหนดให้การยื่นญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต้องมาจากคณะรัฐมนตรี หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎร (๑๐๐ คน) หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภารวมกัน มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมดของทั้งสองสภา (๑๔๐ คน)
 
            ๖๗. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้บัญญัติเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงไปจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ในสาระสำคัญที่เด่นๆ ดังต่อไปนี้
- บัญญัติให้รัฐสภาเป็นระบบสองสภา สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเรียงเบอร์ จำนวน ๔๐๐ คน และสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนอีก ๘๐ คน จาก ๘ เขตเลือกตั้ง หรือ ๘ กลุ่มจังหวัดทั่วประเทศ เขตละ ๑๐ คน ทั้งหมดรวมเป็น ๔๘๐ คน ส่วนวุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้ง ๗๖ คน จังหวัดละหนึ่งคน และสมาชิกที่มาจากการสรรหาอีก ๗๔ คน รวมเป็น ๑๕๐ คน
- บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีมีจำนวนไม่เกิน ๓๖ คน เท่ากับในรัฐธรรมนูญปี ๔๐ แต่สำหรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซึ่งถึงแม้จะให้มาจากการเลือกของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภาผู้แทนราษฎรโดยเปิดเผยและต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเหมือนกับในรัฐธรรมนูญปี ๔๐ ก็ตาม แต่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ไม่ต้องพ้นจากตำแหน่ง ส.ส. เหมือนในรัฐธรรมนูญปี ๔๐ พูดง่ายๆ คือ สามารถสวมหมวกสองใบในเวลาเดียวกันได้ นั่นเอง ด้วยเหตุนี้ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เป็น ส.ส. มาก่อน เมื่อต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี จะด้วยเหตุใดก็ตาม ก็ยังดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่อย่างไม่เปลี่ยนแปลง
- รัฐธรรมนูญปี ๕๐ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกและฉบับเดียว ที่บัญญัติไว้ชัดเจนว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะตั้งกระทู้ถาม อภิปราย หรือแม้แต่ลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคที่ตนสังกัดได้ โดยไม่ต้องฟังมติพรรค
- การยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี สามารถทำได้ง่ายเพราะใช้เสียงเพียงไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้า (๙๖ คน) การยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่ เพราะใช้เสียงเพียงหนึ่งในหก (๘๐ คน)
- เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก ที่บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และสมาชิกวุฒิสภา สามารถเสนอร่างกฎหมายได้เอง โดยไม่ต้องผ่านคณะรัฐมนตรีเสียก่อน ทั้งนี้ โดยให้ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรอิสระเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ศาลหรือองค์กรอิสระเสนอร่างพระราชบัญญัติ ส่วนสมาชิกวุฒิสภาสามารถเข้าชื่อร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบ (๖๓ คน) เสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญได้
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เสนอร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ร่วมกับสมาชิกวุฒิสภาเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ทั้งหมด สามารถเข้าชื่อยื่นเสนอได้ โดยไม่ต้องขอมติพรรคที่ตนสังกัดเสียก่อน
- เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก ที่บัญญัติบังคับให้ฝ่ายบริหารต้องจัดสรรงบประมาณ ให้แก่ ศาลและองค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ ตามที่ต้องการ และเป็นครั้งแรกเช่นกัน ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ศาลและองค์กรตามรัฐธรรมนูญต่างๆ เหล่านั้น สามารถขอแปรญัตติเพิ่มเติมงบประมาณจากคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎรได้โดยตรง
- ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายได้ จำนวนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคนมีสิทธิเข้าชื่อยื่นถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงได้ และจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน มีสิทธิยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้
- เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก ที่กำหนดอายุการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี โดยห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่าแปดปี
- เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก ที่บัญญัติให้มีตำแหน่ง “ผู้ตรวจการแผ่นดิน” และ “ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน” ซึ่งมีอำนาจหน้าที่มากและกว้างขวางกว่า “ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา” ตามรัฐธรรมนูญปี ๔๐ มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อำนาจหน้าที่ในการควบคุมตรวจสอบการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง และข้าราชการ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ
- รัฐธรรมนูญปี ๕๐ ได้ยกเลิกการเอาหีบบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปเทนับรวมกัน ณ สถานที่เดียว แล้วให้นับคะแนนเลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้งอย่างเดิม
- เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก ที่ได้ยกฐานะสำนักงานอัยการเป็น “องค์กรอัยการ” ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
- บัญญัติให้ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือ “ให้ใบแดง” แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. หรือ ส.ว. หลังจากที่ กกต. ประกาศผลแล้ว และให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือ “ให้ใบแดง” แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
- กำหนดให้การทำหนังสือสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ ที่มีผลกระทบต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ รัฐต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อน และเมื่อมีการลงนามแล้ว ต้องให้ประชาชนเข้าถึงรายละเอียดของสัญญานั้นด้วย
- กำหนดให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มหรือจัดตั้งสหภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป
- กำหนดให้ “ชุมชน” ทั่วไป มีสิทธิฟ้องร้องหน่วยราชการและหน่วยงานของรัฐ ในคดีที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพของประชาชน นอกเหนือจาก “ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม” ตามรัฐธรรมนูญปี ๔๐
- กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ทุกฉบับ ต้องเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย
- เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก ที่บัญญัติให้มีหมวดการเงิน การคลัง และงบประมาณ รวมทั้งหมวดคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย
- กำหนดให้ ป.ป.ช. เปิดเผยบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินของ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาที่แจ้งต่อ ป.ป.ช. ต่อสาธารณชนด้วย นอกเหนือจากที่ให้เปิดเผยเฉพาะบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของคณะรัฐมนตรีที่ต้องเปิดเผยตามรัฐธรรมนูญปี ๔๐

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

                      คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505

                                       
คดีปราสาทพระวิหาร เป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชากับราชอาณาจักรไทย ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 จากปัญหาการอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชายแดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหาร เกิดจากการที่ทั้งไทยและกัมพูชา ถือแผนที่ปักปันเขตแดนตามแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2502
คดีนี้ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ท่ามกลางความไม่พอใจของฝ่ายไทย ซึ่งเห็นว่าศาลโลกตัดสินคดีนี้อย่างไม่ยุติธรรม อย่างไรก็ตาม การตัดสินคดีครั้งนี้ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องอาณาเขตทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชาในบริเวณดังกล่าวให้หมดไป และยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังต่อมาจนถึงปัจจุบัน
คดีนี้มีข้อเท็จจริงอยู่ว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2447 ถึง พ.ศ. 2451 ประเทศฝรั่งเศสมีฐานะเป็นรัฐผู้อารักขากัมพูชา ได้ทำสัญญากับราชอาณาจักรสยามอยู่หลายฉบับ แต่มีสัญญาอยู่ฉบับหนึ่งที่เป็นต้นเหตุของปัญหานี้ คือ สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 มีความตกลงอยู่ว่า พรมแดนที่เป็นปัญหาให้ถือเอาสันปันน้ำเป็นเกณฑ์ในการแบ่งเขตแดน และให้แต่งตั้งคณะกรรมการปักบันเขตแดน เพื่อได้ทำการสำรวจบริเวณพื้นที่แถบนั้น
ต่อมาในปี พ.ศ. 2450 ทางการสยามได้ขอให้ทางฝรั่งเศสทำแผนที่พรมแดน ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ขึ้นจำนวนหนึ่ง หนึ่งในนั้นเป็นแผนที่ที่ฝรั่งเศสลากเส้นเอาเขาพระวิหาร ซึ่งอยู่ในความครอบครองของราชอาณาจักรสยาม ไปอยู่ในฝั่งเขตแดนกัมพูชาของทางฝรั่งเศสด้วย โดยมิได้ยึดแนวสันปันน้ำเป็นเกณฑ์ (แผนที่นี้ต่อมาเรียกว่า "แผนที่ผนวก 1" (Annex I map) )
กระนั้น สยามไม่ได้คัดค้านแผนที่นั้นภายในเวลาอันสมควร คณะกรรมการฝ่ายไทยไม่ได้ดำเนินการใด ๆ เลย แม้จะไม่ได้แสดงการยอมรับ แต่ก็ไม่ได้ทำการคัดค้านว่าแผนที่ฉบับที่มีปัญหานั้นไม่ถูกต้อง ท่านเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นคือ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ตรัสขอบใจราชทูตฝรั่งเศสผู้นำส่งแผนที่นั้น และผู้ว่าราชการจังหวัดก็มิได้ทำการทักท้วง ต่อมา มีการประชุมคณะกรรมการที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2452 โดยใช้แผนที่ผนวก 1 นี้เป็นหลัก ก็ไม่มีผู้คัดค้าน
ปี พ.ศ. 2468 มีการจัดทำสนธิสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส โดยมีการอ้างอิงถึงเขตแดนดังกล่าว และในการเจรจาสนธิสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส ณ กรุงวอชิงตัน เมื่อปี พ.ศ. 2490 รัฐบาลไทยไม่ได้ประท้วงประเด็นดังกล่าว นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2473 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จไปเขาพระวิหาร โดยมีผู้สำเร็จราชการฝรั่งเศสรับเสด็จในฐานะทรงเยือนจังหวัดหนึ่งของกัมพูชา แม้ในระหว่าง พ.ศ. 2477-2478 มีการสำรวจพบว่ามีความแตกต่างระหว่างเส้นพรมแดนในแผนที่และแนวสันปันน้ำจริง และได้มีการทำแผนที่อื่น ๆ ซึ่งแสดงว่าปราสาทดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรสยาม แต่สยามยังคงใช้และจัดพิมพ์แผนที่ที่แสดงว่าพระวิหารตั้งอยู่ในกัมพูชาต่อไป เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิจารณาว่า รัฐบาลไทยขณะนั้นได้ยอมรับ (acquiese) ว่า ฝรั่งเศส มีอำนาจอธิปไตยเหนือเขาพระวิหารเป็นเวลายาวนานถึง 50 ปีมาแล้ว ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ว่าด้วยหลักกฎหมายปิดปาก (estoppel)
ปี พ.ศ. 2501 หลังจากกัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส จึงเริ่มมีข้อขัดแย้งเรื่องเขตแดนรอยต่อระหว่างไทยกับกัมพูชา จนกระทั่งเจ้านโรดมสีหนุ นายกรัฐมนตรีกัมพูชาขณะนั้น นำเรื่องขึ้นเสนอสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในปี พ.ศ. 2502 โดยใช้แผนที่ผนวก 1 เป็นหลักฐานสำคัญ ซึ่งแม้เส้นเขตแดนบนแผนที่จะไม่ได้ใช้สันปันน้ำเป็นเกณฑ์ แต่แผนที่ฉบับนี้ไม่เคยถูกคัดค้านจากรัฐบาลสยามและไทยมาก่อน
ดังนั้นในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จึงได้ตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 นอกจากนั้นยังตัดสินด้วยคะแนนเสียง 7 ต่อ 5 ให้ประเทศไทยส่งคืนโบราณวัตถุที่นำออกมาจากปราสาทเขาพระวิหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยได้เข้ายึดครองพื้นที่ดังกล่าว


                                
                                  
สรุปผลการตัดสินคดีเขาพระวิหารเบื้องต้น
    ศาลโลกมีมติเอกฉันท์ให้พื้นที่โดยรอบพระวิหารเป็นของกัมพูชา และขอให้ไทยถอนทหารออกจากพื้นที่ที่เป็นข้อพิพาททั้งหมด นอกจากนั้นขอให้ไทย - กัมพูชา ทำการเจรจาหารือกันโดยมียูเนสโก้ดูแล อย่างไรก็ตามการพิจารณาคดีครั้งนี้ไม่ครอบคลุมพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร
      ด้านนายวีระชัย พลาศัย ทูตตัวแทนจากไทยได้แถลงข่าวว่า ทางกัมพูชาไม่ได้พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ตามที่ร้องขอ ศาลจึงไม่ได้มอบพื้นที่ภูมะเขือที่กัมพูชาต้องการ โดยศาลได้ฝากให้ไทยและกัมพูชาช่วยกันดูแลเขาพระวิหารที่ถูกยกให้เป็นมรดกโลก 

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

12 สิง วันแม่แห่งชาติ

ไฟล์:Mali flower.jpg

วันแม่แห่งชาติ

วันแม่แห่งชาติ

แต่เดิมนั้น วันแม่แห่งชาติได้กำหนดเอาไว้เมื่อ วันที่ 15 เมษายน ของทุก ๆ ปี ซึ่งเป็นมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมา
ภาพวันแม่
วันแม่แห่งชาติ
จากนั้นได้รับความสำเร็จด้วยดีด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป และมีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ ประกวดเรียงความวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของ รัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม
โดยทั่วไปเรียกกันว่าวันแม่ของชาติ ต่อมา พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนแปลงใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็น วันแม่แห่งชาติ เริ่มใน ปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน


สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่


ดอกมะลิ
ดอกมะลิ ดอกไม้ประจำวันแม่
ดอกมะลิ ซึ่งมีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย มะลิ เป็นพืชดอก พบได้ในเอเชีย ดอกมีกลิ่นหอมเย็น คนไทยนิยมนำมาลอยน้ำเย็นเพื่อดื่ม

พันธุ์ดอกมะลิ


    • มะลิลา หรือ มะลิซ้อน เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดียวออกเป็นคู่ตรงกันข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ขอบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน ดอกสีขาว
    • มะลุลี ลักษณะต้น ใบ อื่น ๆ คล้ายมะลิลา แต่ใบใหญ่กว่าดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก และดอกกลางบานก่อน เช่นกัน แต่มีดอกซ้อน 3-4 ชั้น ปลายกลีบมน
    • มะลิถอด ลักษณะ โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งต้น ใบ การจัดเรียงของใบ รูปแบบของใบคล้ายมะลิลาซ้อน แต่ใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อมี 3 ดอก ดอกซ้อนมากชั้นกว่า คือ 3-6 ชั้น
    • มะลิซ้อน ลักษณะ ทั่ว ๆ ไปคล้ายมะลิถอด และมะลิลาซ้อน แต่ใบมีลักษณะแคบกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอกเช่นกัน กลีบดอกซ้อน แต่ซ้อนกว่า 5 ชั้น
    • มะลิพิกุล หรือ มะลิฉัตร ลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับ 4 ชนิดแรก ใบคล้ายมะลิซ้อนและมีคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อ 3 ดอก ดอกซ้อนเป็นชั้น ๆ

เพลงที่ใช้ในวันเเม่

ค่าน้ำนม คือ เพลงอย่างเป็นทางการที่ใช้ในงานวันเเม่เเห่งชาติ เเต่งขึ้นโดย อาจารย์ สมยศ ทัศนพันธ์ ได้เรียบเรียงบทเพลงที่เรียกได้ว่า ขึ้นหิ้งอมตะ และเป็นงานเพลงชิ้นเอก ซึ่งได้ฟังเมื่อไร เป็นต้องหวนระลึกถึงบุญคุณของเเม่เเละวันคืนเก่าๆ ของวิถีไทยในสมัยก่อน

เพลงค่าน้ำนม ที่เปิดใช้ในวันสำคัญ วันแม่แห่งชาติ
แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง ที่เฝ้าหวงห่วงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล
แม่เราเฝ้าโอละเห่ กล่อมลูกน้อยนอนเปลไม่ห่างหันเหไปจนไกล
แต่เล็กจนโตโอ้แม่ถนอม แม่ผ่ายผอมย่อมเกิดแต่รักลูกปักดวงใจ
เติบโตโอ้เล็กจนใหญ่ นี่แหละหนาอะไรมิใช่ใดหนาเพราะค่าน้ำนม
ควรคิดพินิจให้ดี ค่าน้ำนมแม่นี้จะมีอะไรเหมาะสม
โอ้ว่าแม่จ๋าลูกคิดถึงค่าน้ำนมเลือดในอกผสมกลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน
ค่าน้ำนมควรชวนให้ลูกฝัง แต่เมื่อหลังเปรียบดังผืนฟ้าหนักกว่าแผ่นดิน
บวชเรียนพากเพียรจนสิ้น หยดหนึ่งน้ำนมกินทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย
มะลิหอมน้อมวางข้างข้างตัก
กรุ่นกลิ่น "รัก" บริสุทธิ์ผุดผ่องใส
แทนทุกคำทุกถ้อยร้อยจากใจ
เป็นมาลัย "กราบแม่" พร้อมน้อมบูชา
กี่พระคุณจากใครอื่นนับหมื่นแสน
อาจทนแทนเปรยเปรียบเทียบคุณค่า
แต่พระคุณ"หนึ่งหยดน้ำนมมารดา"ทั้งสามภพจบหล้า...หาเทียมทัน
ลูกไม่อาจเอ่ยแสดงแถลงถ้อย
หรือเรียงร้อยพจนามาเสกสรรค์
เพื่อบรรยายพระคุณนี้ที่ "อนันต์"
จึงตั้งมั่น "กตัญญุตา" ตลอดไป
หนึ่งคำ "รัก" ลูกรักแม่ แม้ค่าน้อย
ต่างเพชรพลอย ตีราคาค่ามิได้
แต่แม่จ๋า... "รักที่หนึ่ง" ของหัวใจ
มิใช่ใคร "ลูก รัก แม่" แน่นิรันดร์

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การเลือกตั้งของประเทศมาเลเซีย


5พ.ค.ชี้ชะตาเลือกตั้งมาเลย์โต๊ะเจรจายังอยู่

5พ.ค.ชี้ชะตาเลือกตั้งมาเลเซีย รัฐบาลเปลี่ยน...โต๊ะเจรจายังอยู่!


              การเจรจาระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยกับกลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็นตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่า มีความเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออกกับการเลือกตั้งภายในประเทศมาเลเซียในวันที่ 5 พฤษภาคม นี้ โดยเฉพาะข้อที่ว่า ผลจากการเป็นตัวกลางในการเจรจาสันติภาพที่ภาคใต้ของไทยถือเป็นผลงานของ นายนาจิบ ราซัค อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียโดยตรง

              ดังนั้น การเลือกตั้งภายในของมาเลเซียครั้งนี้จึงได้รับการจับตามองจากคนไทยมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า หากพรรครัฐบาลของนายนาจิบแพ้การเลือกตั้ง และพรรคฝ่ายค้านพลิกกลับมาเป็นรัฐบาลแทน "โต๊ะเจรจาสันติภาพ" ที่รัฐบาลชุดเก่าเป็นเจ้าภาพอำนวยความสะดวกเอาไว้ จะล้มครืนตามไปด้วยหรือไม่ !?

              ทั้งนี้ ในการประชุมหน่วยงานความมั่นคงที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานการประชุม โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก รวมถึง พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ร่วมประชุมด้วย เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ที่ผ่านมา จึงได้มีการหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาหารือด้วย

              หนึ่งในคณะทำงานพูดคุยกับกลุ่มบีอาร์เอ็นที่ร่วมคณะกับเลขาธิการ สมช. วิเคราะห์ว่า ไม่ว่าผลการเลือกตั้งในมาเลเซียจะมีการเปลี่ยนขั้วหรือไม่ การพูดคุยเพื่อสันติภาพก็จะต้องเกิดขึ้นต่อไป เพราะรัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซียจะต้องร่วมมือกันในโครงการต่างๆ โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูง และโครงการท่าเรือทวาย ซึ่งมีส่วนสำคัญ และเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจของประเทศมาเลเซีย

              หนึ่งในคณะทำงานพูดคุยของสมช. เชื่อว่า มาเลเซียต้องพยายามดำเนินการให้การพูดคุยกันในครั้งนี้จบลงด้วยดี ไม่เช่นนั้นมาเลเซียก็จะสูญเสียความน่าเชื่อถือไปด้วยเช่นกัน ดังนั้น ไม่ว่าฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้านจะชนะการเลือกตั้งก็จะต้องเดินหน้าให้การพูดคุยได้ข้อยุติลงด้วยสันติวิธี

              เขายังเผยถึงเงื่อนไขในการเจรจาล่าสุดกับแกนนำบีอาร์เอ็นด้วยว่า "ในการพูดคุยได้มีการโยนคำถามว่าให้พวกคุณ (บีอาร์เอ็น) หยุดก่อเหตุได้หรือไม่ประมาณ 1 เดือน ซึ่งหากหยุดไม่ได้ก็แสดงว่าไม่ใช่ตัวจริง และถ้าสั่งไม่ได้ ต่อไปเราก็อาจจะมีการพูดคุยกับกลุ่มอื่น”

              ส่วนเงื่อนไข 5 ข้อของกลุ่มบีอาร์เอ็นที่ย้ำชัดเจนถึงการแบ่งแยกดินแดน และพยายามยกระดับการเจรจาสู่สากลนั้น เขามองว่า ข้อเสนอดังกล่าวเป็นเพียงการแสดง "จุดยืน" ของเขาเท่านั้น และการพูดคุยกันในครั้งนี้ก็ไม่ได้เป็นการเจรจา แต่เป็นการรับฟัง และเปิดช่องทางการพูดคุยเท่านั้น

              “เงื่อนไข 5 ข้อที่บีอาร์เอ็นยื่นมานั้น โดยเฉพาะการให้มาเลเซียเป็นตัวกลางในการเจรจา มาเลเซียได้ประกาศชัดแล้วว่าเขาจะทำหน้าที่เพียงอำนวยความสะดวกในการพูดคุยกันเท่านั้น ดังนั้น 5 ข้อที่เสนอมานั้น ถูกมาเลเซียปฏิเสธไปแล้วหนึ่งข้อ ส่วนที่เหลืออีก 4 ข้อนั้น ทุกอย่างจะต้องเป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญไทยทั้งหมด” ทีมเจรจา สมช.กล่าวย้ำ

              รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร นักวิชาการด้านความมั่นคงจากภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองสอดคล้องกันว่า ไม่ว่าพรรครัฐบาล หรือพรรคฝ่ายค้านจะเข้ามาครองอำนาจ โต๊ะเจรจาก็จะยังคงดำเนินต่อไป เพราะมาเลเซียต้องการมีบทบาทในการสร้างสันติภาพ เพื่อสร้างภาพความเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียนอยู่แล้ว

              อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.ปณิธาน มองว่า แม้การดำเนินนโยบายหลักๆ จะไม่ต่างกัน แต่ตัวบุคคลที่จะเข้ามาพูดคุย และประเด็นในการเจรจาคงจะเปลี่ยนไปพอสมควร โดยจะมีความเข้มข้นมากขึ้นเพราะพรรคฝ่ายค้านของมาเลเซีย โดยเฉพาะพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย หรือพรรคปาส มีความใกล้ชิดกับกลุ่มที่เคลื่อนไหวใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยมากกว่าฝ่ายรัฐบาลมาเลเซีย

              "อย่าง นายฮัสซัน ตอยิบ แกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็น จะมีความใกล้ชิดกับตำรวจสันติบาลของมาเลเซีย และรัฐบาลในกรุงกัวลาลัมเปอร์มากกว่า แต่ถ้าพรรคฝ่ายค้านได้เป็นรัฐบาลเราคงได้เห็นคนหน้าใหม่ๆ เข้ามาเจรจามากขึ้น ซึ่งน่าจะถูกใจกลุ่มศาสนา และเด็กในพื้นที่มากกว่า แต่จะทำให้รัฐบาลไทยเจรจาได้ยากขึ้น" รศ.ดร.ปณิธาน กล่าวทิ้งท้าย

              ทั้งนี้ สำหรับแนวโน้มการเลือกตั้งในครั้งนี้นับว่าสูสีคู่คี่มากที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งมาเลเซีย โดยเฉพาะการขับเคี่ยวกันระหว่าง นายนาจิบ ราซัค ผู้สมัครจากพรรคสหมาเลย์แห่งชาติ หรือพรรคอัมโน กับ นายอันวาร์ อิบราฮิม ผู้สมัครพรรคฝ่ายค้าน และอดีตรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งถือเป็นคู่กัดตลอดกาลของพรรครัฐบาล และเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุด

              โดยนายนาจิบ ราซัค หาเสียงด้วยนโยบายการแก้กฎหมายเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ขณะที่ นายอันอาร์ อิบราฮิม ผู้สมัครจากพรรคฝ่ายค้าน ชูนโยบายการปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ หลังจากพรรคอัมโนผูกขาดการปกครองของมาเลเซียมายาวนานกว่า 56 ปี

              น่าสนใจว่า ทั้งคู่มีจุดแข็งที่แตกต่างกัน โดยนายอันวาร์เป็นขวัญใจ "คนรุ่นใหม่" ในช่วงระหว่างอายุ 20-30 ปี โดยผลการสำรวจคะแนนนิยมพบว่า นายอันวาร์มีคะแนนนิยมในกลุ่มคนรุ่นใหม่ 52 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่นายนาจิบได้คะแนนนิยมเพียง 30 เปอร์เซ็นต์ โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่มองว่า นายราจิบปิดหูปิดตาประชาชนด้วยการควบคุมสื่อ และบริหารประเทศล่าช้า ไม่ทันต่อสถานการณ์

              แต่ผลการสำรวจคะแนนนิยมในกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปพบว่า นายราจิบมีคะแนนนิยม 61 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ถือว่าได้น้อยกว่าทุกการเลือกตั้งที่ผ่านมา และทำให้พรรคอัมโนมีแนวโน้มที่จะได้ ส.ส.เข้าไปนั่งในสภาน้อยลง และจะทำให้การผลักดันกฎหมาย หรือนโยบายสำคัญทำได้ยากขึ้น ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานในอนาคต หากได้กลับไปเป็นรัฐบาลอีกครั้ง

              ส่วนกลุ่มคนไทยในมาเลเซีย โดยเฉพาะผู้ที่ถือบัตรประชาชน "สองสัญชาติ" ก็ถือว่าเป็นตัวแปรหนึ่งในการเลือกตั้งมาเลเซียเช่นกัน โดยกลุ่มคนไทยในมาเลเซีย โดยเฉพาะในรัฐตอนเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ถือเป็นฐานคะแนนเสียงสำคัญของพรรคฝ่ายค้านมาเลเซียมาช้านาน และเป็นพื้นที่ที่พรรครัฐบาลพยายามช่วงชิงแต้มกลับคืนมาให้ได้มากที่สุด

              มีรายงานข่าวแจ้งว่า รัฐบาลมาเลเซียพยายามลดช่องว่างของคะแนนเสียงส่วนนี้ด้วยการบีบกลุ่มที่มี "หมายจับ" ของทางการไทยให้สนับสนุนพรรครัฐบาล เพื่อแลกกับการได้อยู่ในมาเลเซียต่อ ไม่ต้องถูกส่งกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย ซึ่งถือเป็น "ไม้เด็ด" ที่น่าจะช่วงชิงคะแนนเสียงกลับไปได้พอสมควร

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 6 พ.ค. ว่า ผลการนับคะแนนการเลือกตั้งทั่วไปของมาเลเซีย ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ (5 พ.ค.) ปรากฏว่า หลังปิดหีบลงคะแนนผ่านไปประมาณ 9 ชั่วโมง และนับบัตรได้กว่า 2 ใน 3 ของทั้งหมด พรรคร่วมรัฐบาลในนาม “แนวร่วมแห่งชาติ” นำโดยพรรคอัมโนของ นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค คว้าชัยชนะได้สำเร็จ เมื่อได้ ส.ส. เข้าสู่รัฐสภาแล้วอย่างน้อย 127 ที่นั่ง ครองเสียงข้างมากจากทั้งหมดในรัฐสภา 222 ที่นั่ง สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้โดยเอกเทศ ขณะที่แนวร่วมฝ่ายค้าน 3 พรรค นำโดยนายอันวาร์ อิบราฮิม ได้ ส.ส. แล้ว 77 ที่นั่ง
นับเป็นชัยชนะการเลือกตั้งทั่วไป 13 ครั้งติดต่อกัน ของพรรคแนวร่วมแห่งชาติ ซึ่งผูกขาดครองอำนาจเป็นรัฐบาลมาตลอด ตั้งแต่มาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2500 และเป็นชัยชนะที่ค่อนข้างผิดความคาดหมายก่อนหน้านี้ ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์ชี้ว่า พรรคร่วมรัฐบาลจะเผชิญความท้าทายครั้งใหญ่สุดจากฝ่ายค้าน
เจ้าหน้าที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติมาเลเซีย เผยว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนราว 13 ล้านคน ตัวเลขผู้ที่ออกไปใช้สิทธิสูงถึง 80 % หรือกว่า 10 ล้านคน โดยการลงคะแนนมีขึ้นในหน่วยเลือกตั้งกว่า 8,000 หน่วยทั่วประเทศ ระหว่างเวลา 08.00 น. – 17.00 น

ประเทศมาเลเซียจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2556 หลังนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2556[2] โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภานิติบัญญัติรัฐ 12 จาก 13 รัฐ (ยกเว้นรัฐซาราวัก) หลังธรรมเนียมปฏิบัติที่เริ่มตั้งแต่ปี 2547 ให้จัดการเลือกตั้งเหล่านี้พร้อมกัน[3][4]
พรรครัฐบาล แนวร่วมแห่งชาติ (BN) ที่ครอบงำโดยพรรคอัมโนของนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซะก์ ได้รับเสียงข้างมาก แม้พรรคปากาตัน รักเกียตที่ตั้งโดยพรรคการเมืองฝ่ายค้านสามพรรค จะได้รับเสียงจากประชาชนมากที่สุด ทั้งนี้ เพราะที่นั่งมิได้จัดสรรตามสัดส่วน แต่ในระดับเขตเลือกตั้ง ตามระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (first-past-the-post system) อย่างไรก็ดี พรรคฝ่ายค้านมีที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่พรรครัฐบาลเสียที่นั่งเล็กน้อย
การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศมาเลเซีย พ.ศ. 2556
ธงชาติของมาเลเซีย
2551 ←5 พฤษภาคม 2556[1]

ทั้ง 222 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร
และทั้ง 505 ที่นั่งในสภานิติบัญญัติรัฐใน 12 รัฐของมาเลเซีย (ยกเว้นรัฐซาราวัก)

ฝ่ายข้างมากต้องได้เกิน 112 ที่นั่ง
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง84.84%
 พรรคที่หนึ่งพรรคที่สอง
 Dato Sri Mohd Najib Tun Razak.JPGAnwar 980416.jpg
ผู้นำนาจิบ ราซะก์อันวาร์ อิบราฮิม
พรรคพรรคแนวร่วมแห่งชาติพรรคปากาตัน รักเกียต
ผู้นำตั้งแต่3 เมษายน 255228 สิงหาคม 2551
ที่นั่งผู้นำปกันเปอร์มาตังปาอูห์
ผลครั้งที่แล้ว140 ที่นั่ง, 50.27%82 ที่นั่ง, 46.75%
ที่นั่งที่ได้13389
เปลี่ยนแปลง 7 7
คะแนนเสียง5,237,6995,623,984
ร้อยละ47.38%50.87%
Swing 2.89%4.12%

นายกรัฐมนตรี
ก่อนการเลือกตั้ง

นายกรัฐมนตรีที่ได้รับแต่งตั้ง